เก้าอี้สำนักงาน Modena ที่จะช่วยให้คุณนั่งทำงานได้ยาวนาน ๆ แบบสุขภาพดี ลดอาการปวดหลัง
พฤติกรรมการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคยอดฮิตที่เหล่าพนักงานบริษัททั้งหลายมักประสบกันมากอยู่ขณะนี้นั่นก็คือ อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตัว จนเรื้อรังกลายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งเกิดการจากนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเมื่อยล้า โดยสามารถสังเกตอาการแรกเริ่มของโรคออฟฟิศซินโดรมได้คือ มีอาการปวดหลัง หรือเมื่อยบริเวณต้นคอ, บ่า, ไหล่, สะบัก หลายคนแก้ไขปัญหาอาการปวดหลัง ปวดตัว โดยการนวด ซึ่งการนวดนั้นเป็นเพียงการบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เพียงเท่านั้น แต่เมื่อกลับไปทำพฤติกรรมแบบเดิมอาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก็จะกลับมาอีกครั้ง จนบางครั้งอาจลุกลามจนกลายเป็นการปวดเมื่อยเรื้อรัง ดังนั้นเราควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั่นก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขณะทำงาน อาทิเช่น หมั่นยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ ๆ, การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อเบา ๆ ระหว่างวันทำงาน หรือการลุกเดินไปมา เป็นต้น และอีกหนึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาอาการปวดหลัง หรือโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นก็คือการเลือกนั่งเก้าอี้สำนักงานที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพที่ดี นับว่าเป็นการลงทุนในการดูแลสุขภาพระยะยาว เพราะเก้าอี้สำนักงานเพื่อสุขภาพจะช่วยปรับสรีระการนั่งระหว่างทำงานให้รู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกสบายตัวอีกทั้งยังช่วยลดบรรเทาอาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
หากคุณเป็นคนที่รักการทำงานเป็นชีวิตจิตใจ ทุ่มเททั้ง 8 ชั่วโมงให้กับงานที่รัก ความขยันเป็นเรื่องที่ดีแต่เราไม่อยากให้คุณละเลยการดูแลสุขภาพเพราะโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นภัยเงียบที่คนทำงานควรพึงระวังไว้ หากอยู่ในระยะร้ายแรงอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทก่อให้เกิดอาการตาพร่า, หูอื้อ, วูบ หรือมึนงงขึ้นได้
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอันก่อให้เกิดอาการปวดหลัง จากโรคออฟฟิศซินโดรม ดังต่อไปนี้
หากคุณเป็นคนที่รักการทำงานเป็นชีวิตจิตใจ ทุ่มเททั้ง 8 ชั่วโมงให้กับงานที่รัก ความขยันเป็นเรื่องที่ดีแต่เราไม่อยากให้คุณละเลยการดูแลสุขภาพเพราะโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นภัยเงียบที่คนทำงานควรพึงระวังไว้ หากอยู่ในระยะร้ายแรงอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทก่อให้เกิดอาการตาพร่า, หูอื้อ, วูบ หรือมึนงงขึ้นได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอันก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานตลอดทั้ง 8 ชั่วโมง ควรหาเวลาพักเพื่อยืดเส้นสายระหว่างวัน
- เมื่อรู้สึกตาพร่ามัวพยายามอย่าฝืนทำงานต่อ ควรนั่งพักสายตาหรือเดินเคลื่อนไหวไปมา
- หากรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ, บ่า, ไหล่ หรือหลังเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำการดูแลตัวเองเบื้องต้นหรือเลือกซื้อเก้าอี้สำนักงาน ที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพสักตัว เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย
สังเกตสัญญาณอันตรายเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม
อาการของออฟฟิศซินโดรมสามารถสังเกตได้ง่ายจากการปวดเมื่อยในบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายแต่หลายคนมักมองข้ามอาการเหล่านี้เพราะอาจคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยทั่วๆ ไปจึงละเลยที่จะเข้ารับการดูแลรักษา หากปล่อยไว้เรื้อรังอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายเป็นแน่ ดังนั้นวันนี้เราขอชวนทุกคนมาสังเกตสัญญาณอันตรายเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม
- อาการปวดหลัง : มักเกิดจากการนั่งผิดท่าหรือการนั่งเก้าอี้ที่ไม่สบายตัวเป็นระยะเวลานาน
- อาการปวดหัว : มักเกิดจากการปวดเมื่อยบริเวณบ่าลุกลามไปยังบริเวณศีรษะเนื่องจากเลือดไหวเวียนไปเลี้ยงศีรษะไม่เพียงพอ
- อาการปวดตา/ตาแห้ง : มักเกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานเกินไป ควรพักสายตาระหว่างการทำงานเป็นระยะ ๆ และที่สำคัญควรทำงานในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
- อาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อ : มักจะเกิดจากการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ, บ่า, ไหล่ และหลังเรื้อรังจนส่งผลให้กลายเป็นอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อในที่สุด หากถึงขั้นปวดเมื่อยกล้ามเนื้อควรเข้ารับคำปรึกษาแพทย์หรือหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น
- อาการนิ้วล็อค : มักเกิดจากการทำงานโดยใช้แรงนิ้วมือมากเกินไปหรือใช้แรงนิ้วมือเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดอาการเกร็งหรือเกิดการเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นจนเกิดการอักเสบขึ้น
สังเกตได้ว่าส่วนใหญ่เรามักพบอาการของออฟฟิศซินโดรมโดยจะเริ่มแสดงอาการจากการปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อยจากนั้นลุกลามจนกลายเป็นปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง หนึ่งในวิธีการบรรเทาอาการปวดเมื่อยอันเนื่องจากออฟฟิศซินโดรมแบบง่ายๆ นั่นก็คือ การเลือกนั่งเก้าอี้สำนักงานที่ออกแบบพิเศษสำหรับพนักงานออฟฟิศโดยเฉพาะส่งผลให้ขณะนั่งทำงานจะรู้สึกสบายตัวและผ่อนคลายมากขึ้น
ฟังก์ชั่นของเก้าอี้สำนักงาน แก้อาการปวดหลัง หรือโรคออฟฟิศซินโดรม
สำหรับเก้าอี้สำนักงาน มีส่วนช่วยให้ผู้นั่งสามารถนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานได้อย่างรู้สึกสบายตัวและไม่รู้สึกปวดเมื่อยระหว่างวัน เพราะเก้าอี้สำนักงานที่ดีนั้นนั้นจะถูกออกแบบตามสรีระศาสตร์ของร่างกายส่งผลให้ช่วยลดอาการปวดเมื่อยขณะทำงานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะทำงานที่สำนักงานหรือทำงานที่บ้าน (Work From Home) อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ เก้าอี้สำนักงาน ดังนั้นเพื่อลดปัญหาอาการปวดหลัง หรือออฟฟิศซินโดรมเราก็ควรเลือกฟังก์ชั่นของเก้าอี้สำนักงานที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด เก้าอี้สำนักงาน ต้องออกแบบให้ผู้นั่งได้รับความสะดวกสบายมากที่สุดโดยลดภาระของกล้ามเนื้อขณะนั่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันอาการปวดหลัง หรือโรคออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี
- เก้าอี้สำนักงาน ต้องออกแบบให้ผู้นั่งได้รับความสะดวกสบายมากที่สุดโดยลดภาระของกล้ามเนื้อขณะนั่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี
- พนักพิง ควรโค้งรับกับกระดูกสันหลังคนไทยอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่เก้าอี้สำนักงานต้องมีเพื่อลดการปวดเมื่อยหรือลดความเหนื่อยล้าระหว่างการนั่งทำงานระหว่างวัน
- มีการออกแบบตามสรีระร่างกายของคนไทยเพื่อลดอาการเกร็งขณะนั่งทำงานใช้วัสดุคุณภาพที่เหมาะสำหรับการผลิตเก้าอี้สำนักงานอย่างผ้าตาข่าย เพราะผ้าตาข่ายมีคุณสมบัติในเรื่องของความยืดหยุ่นแต่ยังคงความแข็งแรงทนทาน อีกทั้งยังสามารถทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย
- ผสานเทคโนโลยีการถ่ายเทอากาศได้ดีอย่าง Airflow Technology ลงในเก้าอี้สำนักงาน ส่งผลให้ผู้นั่งไม่รู้สึกร้อนหลังขณะนั่งทำงานเพราะเก้าอี้ถูกออกแบบให้สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
- ผสานเทคโนโลยีการปรับพนักพิงของเก้าอี้สำนักงานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายโดยมีการออกแบบเก้าอี้สำนักงานให้สามารถโค้งรับเข้ากับกระดูกสันหลังของผู้นั่งได้อย่างพอเหมาะส่งผลให้ช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณกระดูกส่วนคอ, บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง และบริเวณกระดูกบริเวณบั้นเอว
- การออกแบบที่วางแขนให้สรีระของร่างกายบริเวณไหล่ แขน และข้อมือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เมื่อต้องการนั่งพักจากการทำงานก็สามารถเอนหลังและวางแขนได้อย่างสบายตัว
- ออกแบบความลึกของเบาะเก้าอี้สำนักงาน ควรนั่งเว้นประมาณ 2-3 นิ้วเพื่อไม่ให้เกิดการกดทับบริเวณข้อพับเข่า
- เก้าอี้สำนักงานที่ดีควรมีฟังก์ชั่นที่สามารถปรับลดหรือปรับเพิ่มระดับความสูงของเก้าอี้ได้หลายระดับเพื่อรองรับความชอบส่วนตัวในระดับความสูงที่แตกต่างกันของผู้นั่ง
วิธีการป้องกันเบื้องต้นของอาการปวดหลัง หรือโรคออฟฟิศซินโดรม
- หมั่นออกกำลังกายยืดเส้น ยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ อาทิเช่น การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างการวิ่ง การว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยาน, การออกกำลังกายแบบสร้างกล้ามเนื้ออย่างการออกกำลังกายแบบพิลาทิศ หรือการออกกำลังกายแบบยืดหรือเหยียดเส้นอย่างการเล่นโยคะ เป็นต้น
- ปรับพื้นที่การทำงานให้เหมาะสม หากไม่สามารถเลือกที่พื้นการทำงานได้ก็ควรเลือกนั่งเก้าอี้ที่ทำให้รู้สึกสบายตัวเพราะการนั่งเก้าอี้สำนักงาน จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยเมื่อต้องนั่งทำงานในระยะเวลาที่ยาวนานได้ อย่างเก้าอี้สำนักงาน Modena เก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์เพื่อคนไทย ผ้าตาข่าย MESH คุณภาพสูง พร้อมเทคโนโลยี Airflow เทคโนโลยีการออกแบบพนักพิงของเก้าอี้สำนักงานให้สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี ทำให้นั่งเป็นเวลานาน ไม่รู้สึกร้อนหลัง จึงทำให้นั่งสบาย และ ไม่เสียสมาธิเวลาทำงาน
สามารถสั่งซื้อเก้าอี้สำนักงาน Modena ที่เหมาะกับคุณได้เลยที่
www.modenafurniture.com
Shopee : Lazada : NocNoc : JD Central :
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Line Official : @modenafurnitureInbox : m.me/modenafurniturethailandTel : 02-184-5145E-mail : info@modenafurniture.com